สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ของ วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907

แผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโกปี 1906 ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของสหรัฐ และทำให้ระบบธนาคารแห่งชาติอ่อนแอลงไปยิ่งกว่าเดิม

เมื่อประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็กสันปล่อยให้กฎบัตรจัดตั้งธนาคารที่สองแห่งสหรัฐหมดอายุลงในปี 1836 สหรัฐไม่เหลือหน่วยงานธนาคารกลางใด และปริมาณเงินหมุนเวียนในนครนิวยอร์กมีความผันผวนตามวงจรการเกษตรประจำปีของประเทศ ในฤดูใบไม้ร่วง เงินจะไหลออกจากนครเพื่อไปซื้อผลผลิต และมีการปรับดอกเบี้ยสูงขึ้นเพื่อพยายามดึงเงินกลับ นักลงทุนต่างชาติมักส่งเงินมาไปนิวยอร์กเพื่อทำกำไรจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า[2] ตั้งแต่เดือนมกราคม 1906 ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ที่อยู่ที่ระดับสูงถึง 103 จุดก็เริ่มค่อย ๆ ปรับฐาน ซึ่งใช้เวลาตลอดทั้งปี ในเดือนเมษายน 1906 เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ซึ่งทำลายซานฟรานซิสโกทำให้เศรษฐกิจผันผวน และยิ่งมีเงินจำนวนมากไหลออกจากนิวยอร์กมากขึ้นไปซานฟรานซิสโกเพื่อช่วยบูรณะ[3][4] แรงตึงเครียดต่อปริมาณเงินหมุนเวียนเกิดขึ้นอีกในปลายปี 1906 เมื่อธนาคารแห่งอังกฤษขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่วนหนึ่งเพื่อตอบสนองต่อการที่บริษัทประกันภัยสหราชอาณาจักรจ่ายเงินจำนวนมากให้กับผู้ถือกรมธรรม์สหรัฐ และมีเงินคงค้างอยู่ในกรุงลอนดอนมากกว่าที่คาด[5] ในเดือนกรกฎาคม 1906 ราคาหุ้นตกลงร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดในเดือนมกราคม ปลายเดือนกันยายน หุ้นฟื้นมูลค่าประมาณครึ่งหนึ่งของส่วนที่หายไป

รัฐบัญญัติเฮปเบิร์นซึ่งมอบอำนาจแก่คณะกรรมการพาณิชย์ระหว่างรัฐ (Interstate Commerce Commission, ICC) ในการกำหนดเพดานราคาอัตราค่าบริการรถไฟนั้นเริ่มมีใช้ผลบังคับในปี 1906[6] ซึ่งส่งผลให้หลักทรัพย์ในกลุ่มรถไฟมีมูลค่าลดลง[7] ระหว่างเดือนกันยายน 1906 และมีนาคม 1907 ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.7 ของมูลค่าตลาด[8] ระหว่างวันที่ 9 ถึง 26 มีนาคม ดัชนีลดลงอีกร้อยละ 9.8[9] (การที่หุ้นปรับตัวลงอย่างมากในเดือนมีนาคมนี้บางทีเรียก "ความตระหนกของเศรษฐี")[10] เศรษฐกิจยังคงมีความผันผวนตลอดฤดูร้อน มีเหตุการณ์หลายอย่างที่สร้างความตกใจขึ้นในระบบ เช่นหุ้นของยูเนียนแปซิฟิก ซึ่งเป็นหุ้นที่ใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันมากที่สุดตัวหนึ่ง ลดค่าลงถึง 50 จุด, ในเดือนมิถุนายนการเสนอขายพันธบัตรของนครนิวยอร์กล้มเหลว, ในเดือนกรกฎาคมตลาดทองแดงล้มลง, ในเดือนสิงหาคม บริษัทสแตนดาร์ดออยถูกปรับเป็นเงิน 29 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพราะฝ่าฝืนกฎหมายห้ามผูกขาด[10] ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 1907 หุ้นลดค่าลงถึงร้อยละ 24.4[11]

วันที่ 27 กรกฎาคม หนังสือพิมพ์ เดอะคอมเมอเชียลแอนด์ไฟแนนเชียลโครนิเคิล กล่าวว่า "ตลาดยังไม่มั่นคง... ทันทีที่สัญญาณเปล่านี้ปรากฏชัด เหตุการณ์เช่นการที่ทองคำรั่วไหลไปกรุงปารีสก็ส่งผลให้เกิดความสั่นคลอนไปทั่วตลาด และการเพิ่มมูลค่าและความหวังก็มลายหายไป"[12] มีการแห่ถอนเงินเกิดขึ้นหลายแห่งนอกสหรัฐในปี 1907 เช่น ในประเทศอียิปต์ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม, ในประเทศญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน, ในฮัมบวร์คและประเทศชิลีในต้นเดือนตุลาคม[6] ฤดูใบไม้ร่วงมักเป็นช่วงเวลาที่ระบบธนาคารอ่อนแอ เมื่อรวมกับความผันผวนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว แรงช็อคเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงตามมาได้[5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907 http://books.google.com/?id=7hkYAAAAMAAJ http://books.google.com/?id=R3koAAAAYAAJ http://www.saffo.com/pdfs/HIghTech_Quake2.pdf http://people.ischool.berkeley.edu/~bigyale/fin_me... http://digital.library.pitt.edu/cgi-bin/chronology... http://www.archive.org/download/sixtyfirstsecon00c... //doi.org/10.1016%2Fj.jmoneco.2005.05.015 //doi.org/10.1017%2FS0022050700011414 //doi.org/10.1017%2FS0022050700021756 //doi.org/10.1017%2FS0022050700033957